เกาะกระแสสินค้าไอที

วิธีเลือกซื้อสินค้าไอที

เรื่องน่ารู้

สินค้าใหม่แกะกล่อง

TOWER (1CPU E3)

HPE ProLiant MicroServer Gen10
Lenovo ThinkSystem ST50 Lenovo ThinkSystem ST50 V2 Lenovo ThinkSystem ST250 V2 HPE ProLiant ML30 Gen10 Plus DELL EMC PowerEdge T40 DELL EMC PowerEdge T150 DELL EMC PowerEdge T350

Tower (1CPU)

HPE ProLiant ML110 Gen10 HPE ProLiant ML110 Gen11

Tower (2CPU)

DELL EMC PowerEdge T440
DELL EMC PowerEdge T550
HPE ProLiant ML350 Gen10
HPE ProLiant ML350 Gen11
Lenovo ThinkSystem ST550
Lenovo ThinkSystem ST650 V2

Rack 1U (1CPU)

Lenovo ThinkSystem SR250 V2
DELL EMC PowerEdge R250
DELL EMC PowerEdge R350
HPE ProLiant DL20 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL320 Gen11
HPE ProLiant DL325 Gen10
HPE ProLiant DL325 Gen10 Plus v2
HPE ProLiant DL325 Gen11

Rack 1U (2CPU)

Lenovo ThinkSystem SR530
Lenovo ThinkSystem SR630
Lenovo ThinkSystem SR635
Lenovo ThinkSystem SR645
DELL EMC PowerEdge R450
DELL EMC PowerEdge R650
HPE ProLiant DL160 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL360 Gen11
HPE ProLiant DL365 Gen11
DELL EMC PowerEdge R6525

Rack 2U (2CPU Entry)

DELL EMC PowerEdge R550
HPE ProLiant DL180 Gen10

Rack 2U (2CPU Hi-end)

Lenovo ThinkSystem SR550
Lenovo ThinkSystem SR590
Lenovo ThinkSystem SR650 V2
Lenovo ThinkSystem SR655 (AMD 1CPU)
DELL EMC PowerEdge R7515
DELL EMC PowerEdge R7525
DELL EMC PowerEdge R740
DELL EMC PowerEdge R750
HPE ProLiant DL380 Gen10
HPE ProLiant DL380 Gen11
HPE ProLiant DL380 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL385 Gen10
HPE ProLiant DL385 Gen10 Plus v2

Rack 2U (4CPU Hi-end)

DELL EMC PowerEdge R840

Hyper-Converged

DELL EMC vSAN Solution
Preview DELL EMC VxRail

Solution Ready Package

Lenovo ThinkSystem HA Proxmox
Lenovo Server + Storage

Course Training

Training Microsoft Server Workshop

วิธีการสั่งซื้อ
สิทธิประโยขน์สมาชิก
ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
วิธีการชำระเงิน
วิธีการส่งสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา



ทีมงานเราผ่าน Certified Worldwide
HPE Gold Partner Certified
HP Certificate Partner FY16


DELLEMC Partner Certified
DELLEMC Platinum Partner

Microsoft Certified (MCSA) Microsoft Certified Solutions Associate

VMware Certified (VCP) VMware Certified Professional 5

Microsoft Silver Partner MidMarket Solution Provider Cisco Partner

VMware Partner
 

สวัสดีครับ วันนี้ถึงคิว IBM System x3250M3 กันแล้ว รุ่น Rack 1u ตัวล่างสุดของ IBM เปิดมาตั้งแต่กล่องก็หน้าตาเหมือน M2 รูปทรงเล็ก เรียว บาง พอเปิดมาข้างใน ตัวเครื่องด้านนอกก็มีความเหมือนกัน จริงๆ จะแตกต่างก็ต้องไฟ LED เวลาเปิดที่ M3 จะสว่างกว่า M2 5555 มาดูของที่ให้กัน สิ่งที่โดนตัดทิ้งตั้งแต่ M3 เป็นต้นมาคือ CD ServerGuide ด้วยเหตุผลของ IBM คือลดโลกร้อน เฮ้ย ... ย มันก็ดูดีอ่ะนะ แต่น่าจะตัด CD อย่างอื่นออกมากกว่า ServerGuide นะผมว่าเพราะมันเป็นของที่ต้องใช้ Feedback ไปแล้วแต่ไม่มีอะไรกลับมา นอกจากเมืองไทยจะ Burn ให้เอง โดน Organizer ฟาดไปแผ่นล่ะร้อย Project นี้ก็เลยพับไป


ของที่มีมาให้
  1. SERVER
  2. ราง Slide
  3. IBM Director พร้อมลิขสิทธิ์เฉพาะ IBM
  4. สายไฟ ในกล่อง C13/C14 ต่อกับ PDU
  5. สายไฟ AC อยู่ในกล่องเช่นกัน


ด้านนอกตัวเครื่อง
สิ่งหนึ่งที่โดนตัดทิ้งไปสำหรับ IBM System x3250 M3 คือ CDROM ในสมัย M2 มีแถมมาให้เป็น DVDROM ในแต่ M3 การแข่งขันสูงขึ้นหรือว่าไงไม่รู้ ตัดทิ้ง กลายเป็น Optional เหมือนกับ Brand อื่นๆทั้ง HP / DELL ที่ตัดทิ้งเพื่อให้ต้นทุนต่ำลง CD-ROM ยังคงเป็นขนาดเดิมที่เหมือนกับ M2 และแตกต่างจาก M1 ที่เป็นสี่เหลี่ยมไม่มีขอบหักแบบ M1
สิ่งที่จะแตกต่างภายนอกที่จะเห็นคือมี Sticker ติดระบุว่า "It may take about 2 minutes after this server is connnected to a power" แปลง่ายๆคือใช้เวลา 2 นาที หลังจากเสียบปลั๊กแล้วถึงจะเปิดเครื่องได้ แต่ Version ปัจจุบันกลางปี 2011 รุ่นนี้ไม่มีแปะ Sticker พวกนี้แล้ว ด้วยเหตุที่มันเร็วขึ้นแล้วใช้เวลาไม่กี่วินาที พวกนี้เป็นขบวนการของ UEFI Firmware BIOS แบบใหม่ที่เป็น 64bit แทน BIOS รุ่นเก่าที่ใช้ๆกันแบบ 8bit จริงๆผมก็พึ่งทราบว่า MacBook ก็ใช้ UEFI เหมือนกัน
สิ่งหนึ่งที่หน้าติเตียนกับ IBM จริงๆคือ Sticker ที่ระบุ M/T กับ S/N ที่ถ้าคนแก่เกินอายุ 40 มีตายแน่ในการมอง อาจจะต้องแถมแว่นขยายมาด้วย เพราะว่ามองยากเหลือเกินว่า S/N อะไร ทำให้ยากในการแจ้งเคลม

ฝาบนเครื่อง
ฝาเครื่องยังออกแบบมาเหมือนเดิม เปิดค่อนข้างง่าย ไม่ต้องมีน๊อตสักตัวเดียว เพียงแค่กดตรงปุ่มฟ้าๆ แล้วดันไปข้างหลัง ก็เปิดออกมา ตรงฝาก็จะมีคู่มือเสมือน IBM รุ่นอื่นๆ แต่บอกถึงอุปกรณ์ต่างๆของ Mainboard และวิธีการใส่ Disk บอกตำแหน่ง Error LED ต่างๆใน Mainboard รวมถึง Part FRU เวลาเราเคลมก็จะดูฝาเครืองได้

ด้านในตัวเครื่อง
ภายในตัวเครื่องเริ่มมีความแตกต่างจาก M1/M2 อย่างชัดเจนมากขึ้น ในความคิดผม ผมว่ามันดูดีกว่าแกรนด์กว่า มีการจัด Flow ของพัดลมใหม่ ด้วยเหตุที่ CPU เป็นตัวใหม่ที่วิ่งตรงเข้ากับ Memory ด้วย มีฝาครอบสำหรับ CPU Memory ชัดเจน พัดลม 4 ตัวสำหรับ CPU / Memory และ อีก 1 สำหรับ RAID Controller สำหรับ M2 นั้นจะใช้พัดลม 3 ตัวสำหรับ CPU/Ram และ 2 ตัวสำหรับ Controller
สิ่งที่เห็นใน Mainboard คือ Riser Card ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่า M1/M2 ก็เป็นแผงที่ช่วยเรื่อง Flow พัดลมด้วย มีการเรียงสายที่สวยงามขึ้น และที่เพิ่มมาคือช่อง USB internal ไว้สำหรับ boot Hyperviser เช่น VMware ESXi
Memory มีขนาด 6 แถวเรียงต่อกัน ยังคงมีเอกลักษณ์ในการเช็ค Error ต่างๆด้วยไฟ LED สำหรับเช็ค Memory เสียในตำแหน่งช่องต่างๆ สำหรับ CDROM นั้นก็ติดตั้งง่ายดาย Style IBM ก็แค่เสียบใส่เข้าไปก็ลงล๊อคของมัน แต่ก็จะมีสายมาให้เราเสียบด้านหลัง Backplain เล็กน้อย แตกต่างจาก DL120 G6 ที่ต้องขันน๊อตมากมายในการติดตั้ง CDROM เข้าไปสักตัว ก็มีความยากลำบากแสนสาหัส แต่ก็เป็นเรื่องของ Dealer เราที่จะต้องใส่ แต่หากใส่เองก็เหน็ดเหนื่อย



ด้านหลังเครื่อง
เราไปดูด้านหลังเครื่องกัน ด้านหลังเครื่องมีการจัดเรียงใหม่ที่แตกต่างจาก M1 และ M2 คือการวางเรียงกันในแนวตั้งของ LAN และ USB และ Serial กับ VGA ด้วย และสิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีของ M3 ทุกรุ่นของ IBM ก็คือเรา Remote Management ได้แล้วด้วย IMM แบบที่ HP ทำได้บน iLo เพียงแต่ IBM เหนือกว่าตรงที่ Virtual Media Key ที่เพิ่มเติม เพื่อให้ใช้งาน Full KVM ที่ Remote เห็นระดับ BIOS นั้นใช้เงินที่ต่ำกว่าแค่ 2 พันเศษเท่านั้น แต่ HP เหนือกว่าด้วยการใช้ Enable ผ่าน Software ซึ่งก็ไม่ต้องติดตั้ง Hardware แต่มันให้ Feeling ว่าจ่ายเงินไปไม่ได้อะไรกลับมา แต่กลับ IBM ก็จะให้ Feeling ว่าแม้ถูกอย่างนี้ แถมมาไม่ได้เหรอ
สำหรับ IMM Management นั้นสามารถที่จะทำ Share Port ได้กับ LAN1 เพื่อไม่ให้เปลืองสาย LAN หรือ Port สำหรับคนวาง IDC ก็ทำให้สะดวกในการจัดการมาก

ราง Slide
ราง Slide สำหรับ M3 นั้นก็ยังคง style IBM เป็นสีฟ้าๆ ไว้กดเลื่อน อีกอันนึงไว้กดอีกด้านนึงไว้ Lock ก็ใช้งานง่าย แต่คนที่ไม่คุ้นเคยอาจจะต้องอธิบายกันหน่อย แต่ผมว่าราง Slide เขาก็ใช้งานง่ายสุดแล้วล่ะ ด้วยสีที่ระบุชัดเจน และ ด้วยการเอาออกเวลาเครื่องมันติดๆกันทั้งตู้

Option เสริม
Option เสริมที่คิดว่าควรซื้อไว้ก็มี Virtual media key ครับไม่แพง แต่ใช้งานได้คุ้มค่าสำหรับคนวางเครื่องใน Data center แต่หากวางไว้ office ก็ไม่ต้องซื้อก็ได้ประหยัดเงิน
Option อื่นๆก็คงมี Memory / Disk / Network card / RAID controller ซึ่งก็แนะนำว่า RAID ถ้าจะใช้ไปใช้รุ่น Hot-swap ที่มีมาให้ดีกว่าครับ เพราะรุ่น Simple-swap ตั้งแต่ขายมายังไม่มีใครเพิ่ม RAID เท่าไรนะ เพราะว่ามันแตกต่างจากของเดิมสมัย M1/M2 เหมือนกัน

สรุป
บทสรุปสำหรับ IBM System x3250M3 นั้น เป็น SERVER ที่อยู่ในกลุ่ม Entry Level สำหรับลูกค้าที่เริ่มต้นในการมี SERVER Rack 1u สักตัว หรือคนที่เอาไปทำ Server Farm อยากต่อเครื่องเล็กๆหลายๆตัว ก็เหมาะดี ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับใช้งาน Web SERVER รองรับเว็บเล็กๆได้สักประมาณ 50-100 เว็บสบายๆ สำหรับองค์กร ก็นำไปใช้เป็น Mail Server ได้สำหรับ Client ไม่เยอะมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไม่ลืม Backup ด้วยเพราะมันเป็น SERVER ตัวล่างที่ไม่มี Redundantcy Power Supply และ ประกอบกับรุ่นไม่ได้สูงมาก หากจะ Upgrade ไปมากกว่านี้ ก็แนะนำว่าใช้ Hotswap แล้วใส่ SAS Disk ก็จะทำให้มันเป็น SERVER รุ่นเล็กที่ทรงพลังขึ้นมา
Home Product Service Solution Partner / Affiliate Support About Us Community
Privacy Policy Terms of Service Copyright/IP Policy