วิธีการสั่งซื้อ
สิทธิประโยขน์สมาชิก
ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
วิธีการชำระเงิน
วิธีการส่งสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา

DELLEMC Partner Certified
DELLEMC Platinum Partner


HPE Gold Partner Certified
HP Certificate Partner FY16


IBM System X Certified
IBM System X Certified

Microsoft Certified (MCSA) Microsoft Certified Solutions Associate

VMware Certified (VCP) VMware Certified Professional 5

Microsoft Silver Partner MidMarket Solution Provider Cisco Partner

VMware Partner
 

            มีคำถามมากมายสำหรับการใช้งาน Disk Storage เพราะทุกวันนี้ก็มี Disk Storage เกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่ USB ที่เราใช้ๆกัน ที่เป็น Thumb Drive ไปถึง External Drive ที่เสียบ USB และก็ยังมี External Drive ที่ไปเป็นเข้า Network เป็น NAS แบบง่ายๆ ไปยังมีไปถึงระดับ External Drive ที่ต่อ LAN แล้วทำ RAID ได้อีก โอ้ เทพไปไหน แต่ต้องบอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานของ Disk Storage ตอบโจทย์สำหรับ SME เล็กๆ ระดับข้อมูลที่ไม่ Serious อะไร เพราะกลุ่มเหล่านี้เป็นเพียงการจัดการ storage แบบ Basic ง่ายๆ เป็นพื้นฐานของการจัดการข้อมูลของเราเบื้องต้น จริงๆบริษัทเราเองก็เคยใช้พวกนี้เหมือนกัน เพราะมันก็ง่ายดี ต้นทุนต่ำ ราคาแค่หมื่นเศษๆ บวกลบ นิดหน่อย แต่ปัญหาก็คือ พอเราใช้ข้อมูลมากขึ้น อะไรมากขึ้น ข้อมูลเราก็มีความสำคัญมาก มันชักไม่ค่อยน่าไว้วางใจ ว่าข้อมูลเราจะปลอดภัยไปได้อีกนานไหม

ตกลงแล้วมันต่างอะไรกัน ?
            ความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ระบบการจัดการ Disk ของระบบ Enterprise นั้น มีความแตกต่างอย่างมาก แม้มีความซับซ้อน แต่ก็รองรับการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เรามักไม่ให้ความสำคัญกับ Disk Storage จนกระทั้งเราได้สูญเสียข้อมูลของเราไป คราวนี้เรามาดูทีละประเด็นกันดีกว่า ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรนะ สำหรับการใช้งาน Enterprise กับ ตัว Disk Storage USB / Network ที่ขายกันบนท้องตลาด
  • คุณภาพ Disk : เราจะพบก่อนเลยว่า Disk ที่ใช้บน Disk Storage แบบ USB หรือพัฒนาไปถึง lan ที่ทำมาในระดับ 1-3 หมื่นนั้น จะใช้ SATA Disk เป็นหลัก แล้วเป็น SATA Disk ที่แบบธรรมดาด้วย ไม่ใช่ Enterprise Disk ดังนั้นความคงทนในการใช้งาน ย่อมมีน้อยกว่ามาก ในขณะที่ Disk Storage ระดับ Enterprise นั้นรองรับทั้ง SATA Disk / SAS Disk / FC Disk / SSD รวมไปถึงทุกวันนี้เริ่มไปสู่ SAS หมดแล้วบน Enterprise คือ จะมี Nearline SAS มาแทนที่ SATA Disk ปกติ แม้จะมี Enterprise ก็ตาม เพราะว่าระดับความเสถียรภาพ ความคงทนของ Disk นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • Controller & Control : สิ่งนี้จะไม่เห็นใน Disk Storage แบบ USB ปกติ เพราะพวกนั้นจะเป็น Webbase ธรรมดา ทำได้แค่แบ่ง Folder แล้วก็กระจายออก บางรุ่นอาจจะ Advance หน่อยคือสร้าง User ได้ แต่ว่า User นั้นก็ไม่ได้พ่วงไปกับ AD ของ Windows หรืออะไร ไม่ได้กำหนดอะไรได้มากมาย แต่ Disk Storage ระดับ Enterprise นั้นเป็น Storage ที่มีระบบ Controller ที่ควบคุมการทำงานของ RAID การเพิ่ม Disk เข้าไปก็สามารถใส่เข้าไปใน RAID Array Group เดิมได้ โดยไม่ต้อง Down ระบบ การแจ้งเตือนเวลา Disk มีปัญหา หรือ รวมไปถึง การควบคุมการจ่าย Disk ให้กับ SERVER ต่างๆ เพราะ Trend อนาคต SERVER ก็จะไม่มี Disk อีกต่อไป Disk จะอยู่บน Disk Storage พวกนี้ทั้งหมด ดังนั้น USB Disk พวกนั้นไม่สามารถตอบโจทย์แบบนี้ได้แน่นอน
  • Interface : มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในความเร็ว เพราะ USB ก็วิ่งให้ความเร็วที่เพียง 300Mbps หรือหากเป็น LAN ก็วิ่ง 1Gbps ก็ตาม แต่ก็มีเพียงแค่ 1 Port แต่สำหรับ Disk Storage Enterprise นั้นวิ่งบน Fiber Channel (FC) ที่มีความเร็วระดับ 8Gbps ที่วิ่งได้หลายช่องทางอีกต่างหาก หรือ หากเป็นรุ่นที่วิ่งบน Ethernet LAN นั้นก็วิ่งได้ระดับ 1Gbps x 4 Port และขยายไปเรื่อยๆ หรือ ถ้าระดับ Hi-end สุดๆ ก็วิ่งบน 40Gbps บน Ethernet กันเลย ดังนั้น Speed ไม่ต้องพูดถึงมีความแตกต่างกันมากมายแน่นอน
  • การบริหารจัดการ : เนื่องจากข้อมูลมีความสำคัญมากมายมหาศาล การบริหารจัดการจึงมีความสำคัญอย่างมาก พวก Storage แบบ USB นั้นไม่มีการบริหารจัดการที่ทำได้เป็นระบบระเบียบ ไม่มีระบบแจ้งเตือนอะไร แต่ระบบ Disk Storage แบบ Enterprise นั้นมี Controller ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการได้อย่างดี รวมทั้งป้องกันด้วยการ Redundantcy ของ Controller อีก เพื่อให้เรามั่นใจว่าอุปกรณ์มีการสูญเสียได้
  • ปลั๊กไฟแตกต่าง : หากเราใช้ USB Disk เราจะเป็นว่า ปลั๊กนั้นเป็นแบบหม้อแปลง ไม่รองรับการทำงานระดับ 24x7 แน่นอน มีความเสี่ยงมากต่อระบบไฟ แต่บน Disk Storage Enterprise นั้นใช้ปลั๊กไฟอย่างดีแบบเดียวกับที่ใช้บน SERVER และยังรองรับ Redundantcy Power supply ด้วยที่ทำให้หากแหล่งจ่ายไฟเสียไป 1 ก็ยังมีอีก 1 ช่วยในการทำงาน หาก Storage USB ที่เราซื้อมา หรือ LAN ก็ตามแบบตัวไม่กี่หมื่น แต่ Power supply มันพัง เกิดใช้งานไปหลายปีแล้ว ใครล่ะจะซ่อมให้เรา แล้วใครล่ะจะรับประกันความปลอดภัยของ Data ข้างในให้เราได้
  • การรับประกัน : อันนี้เรื่องใหญ่ เพราะข้อมูลมีความสำคัญ เราคงไม่อยากฝากชีวิตข้อมูลของเราไว้กับ Storage ที่ไม่มีอะไรการันตีได้ว่ามันจะอยู่นานแค่ไหน มันจะพังแล้วมีคนซ่อมไหม เพราะ Storage พวกนี้ส่วนใหญ่เขาเอาไว้ขายสำหรับใช้ส่วนตัวในบ้าน เก็บหนัง เก็บภาพ เก็บเพลง แต่สำหรับงานที่ใช้ในองค์กรแล้ว ถ้าเรานึกภาพตอนใช้ไป 3 ปีแล้วมันเสีย พอซ่อมต้องหอบหิ้วมันไปที่ร้าน พอไปที่ร้านเราก็ไม่รู้อีกว่า ร้านจะแอบ Copy หรือเอาข้อมูลของเราไปด้วยหรือเปล่า หรือแย่ไปกว่านั้น สุดท้ายซ่อมไม่ได้ เราจะทำไงกับ Disk ของเรา การกู้ข้อมูล ก็ไม่ใช่เรื่องสนุก แทนที่ IT ของเราจะมีเวลาไปทำอย่างอื่น กลับต้องวิ่งวุ่นในการกู้ข้อมูล แต่ประกันของ Disk Storage Enterprise นั้น เป็นแบบ Onsite Service คุณจะอยู่ดูช่างทำงาน การเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ก็ทำภายใน 24 ชม แล้วแต่ประกัน หรือมีระดับสูงสุดไปถึงมาภายใน 2 ชมกันเลย ทำให้ข้อมูลของเรานั้นปลอดภัย ระบบไม่ล่ม ธุรกิจเดินหน้าอย่างไม่สะดุด


            สุดท้ายเราเท่านั้นที่จะตอบได้ว่าอะไรเหมาะสมสำหรับเรา Storage มีความสำคัญกับคุณมากน้อยขนาดไหน ที่คุณจะลงทุนให้มัน อยู่ที่เราจะตัดสินใจ เพราะเม็ดเงินมันมีความแตกต่าง ของราคาหลักพัน หลักหมื่นเศษๆ กับ Storage ระดับหลัก 2-3 แสน ย่อมมีความแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ย่อมมีความปลอดภัยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับงาน ขึ้นอยู่กับข้อมูลในการจัดเก็บว่ามีระดับความสำคัญมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง
Home Product Service Solution Partner / Affiliate Support About Us Community
Privacy Policy Terms of Service Copyright/IP Policy