เกาะกระแสสินค้าไอที

วิธีเลือกซื้อสินค้าไอที

เรื่องน่ารู้

สินค้าใหม่แกะกล่อง

TOWER (1CPU E3)

HPE ProLiant MicroServer Gen10
Lenovo ThinkSystem ST50 V2 Lenovo ThinkSystem ST250 V2 HPE ProLiant ML30 Gen11 DELL EMC PowerEdge T40 DELL EMC PowerEdge T150 DELL EMC PowerEdge T160 DELL EMC PowerEdge T350 DELL EMC PowerEdge T360

Tower (1CPU)

HPE ProLiant ML110 Gen10 HPE ProLiant ML110 Gen11

Tower (2CPU)

DELL EMC PowerEdge T550
DELL EMC PowerEdge T560
HPE ProLiant ML350 Gen10
HPE ProLiant ML350 Gen11
Lenovo ThinkSystem ST550
Lenovo ThinkSystem ST650 V2

Rack 1U (1CPU)

Lenovo ThinkSystem SR250 V2
DELL EMC PowerEdge R250
DELL EMC PowerEdge R260
DELL EMC PowerEdge R350
DELL EMC PowerEdge R360
HPE ProLiant DL20 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL320 Gen11
HPE ProLiant DL325 Gen10 Plus v2
HPE ProLiant DL325 Gen11

Rack 1U (2CPU)

Lenovo ThinkSystem SR530
Lenovo ThinkSystem SR630
Lenovo ThinkSystem SR635
Lenovo ThinkSystem SR645
DELL EMC PowerEdge R450
DELL EMC PowerEdge R650
HPE ProLiant DL160 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL360 Gen11
HPE ProLiant DL365 Gen11
DELL EMC PowerEdge R6525

Rack 2U (2CPU Entry)

DELL EMC PowerEdge R550
DELL EMC PowerEdge R660xs
DELL EMC PowerEdge R760xs
HPE ProLiant DL180 Gen10

Rack 2U (2CPU Hi-end)

Lenovo ThinkSystem SR550
Lenovo ThinkSystem SR590
Lenovo ThinkSystem SR650 V2
Lenovo ThinkSystem SR655 (AMD 1CPU)
DELL EMC PowerEdge R7515
DELL EMC PowerEdge R7525
DELL EMC PowerEdge R740
DELL EMC PowerEdge R750
HPE ProLiant DL380 Gen10
HPE ProLiant DL380 Gen11
HPE ProLiant DL380 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL385 Gen10
HPE ProLiant DL385 Gen10 Plus v2

Rack 2U (4CPU Hi-end)

DELL EMC PowerEdge R840

Hyper-Converged

DELL EMC vSAN Solution
Preview DELL EMC VxRail

Solution Ready Package

Lenovo ThinkSystem HA Proxmox
Lenovo Server + Storage

Course Training

Training Microsoft Server Workshop

วิธีการสั่งซื้อ
สิทธิประโยขน์สมาชิก
ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
วิธีการชำระเงิน
วิธีการส่งสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา



ทีมงานเราผ่าน Certified Worldwide
HPE Gold Partner Certified
HP Certificate Partner FY16


DELLEMC Partner Certified
DELLEMC Platinum Partner

Microsoft Certified (MCSA) Microsoft Certified Solutions Associate

VMware Certified (VCP) VMware Certified Professional 5

Microsoft Silver Partner MidMarket Solution Provider Cisco Partner

VMware Partner
 
มาพบกันอีกครั้ง กับ Review แสนว่องไว วันนี้ถึงคราว IBM System x3650 M3 ออกมาอย่างรวดเร็วปานสายฟ้าฟาด จากปกติ Server ตกรุ่นกันต้องใช้เวลากว่า 3 ปี เดี๋ยวนี้ปีเดียวแล้วหรือนี่ เว่อจริงๆ เอาน่ะ ผมว่าซื้อก่อนใช้ก่อน งานบางอย่างมันรอไม่ได้ แล้วจริงๆมันก็เพียงพอสำหรับเรา ไม่ต้องขนาดใหม่ล่าสุดหรอก ว่าไหม
บ่นอีกแล้ว มาดูกันดีกว่าว่าตัวนี้มีอะไร พักหลังความตื่นเต้นผมน้อยลงไปเรื่อยๆ เวลาเห็นรุ่นใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงมันช่างน้อยเต็มที บางทีเปลี่ยนแค่ CPU เลยก็ว่าได้ แต่ครั้งนี้ตอนเครื่องก็นะ ขอดูสักหน่อย กล่องก็ยังคง Size เดิม เหมือนเดิมเปียะ อ๋อ แต่มีที่ต่างมานิดนึงคือ มีการบอกข้างกล่องว่าในกล่องมีอะไรบ้าง เออ อันนี้ผมว่าดี เพราะบางทีก็มักจะไม่แน่ใจว่ามันให้อะไรมาบ้าง ดีกว่ามีแต่ Part Number กับรุ่น อิอิ


ของที่มีมาให้
  1. ตัวเครื่อง Server
  2. ราง Slide
  3. ที่เก็บสาย พร้อมตัวรัดสาย
  4. DVD IBM Director
  5. CD Network Driver
  6. CD Document
  7. สายไฟ นอกกล่อง (PowerCord) / ในกล่อง (C13/C14)
สิ่งที่ยังคงยึดมั่นของ IBM คือ Go Green เหอะๆ เป็นสิ่งดีแต่นะ สิ่งที่ยังคงขาด ก็ยังคงขาดอยู่ อย่างที่ได้ Compliant ไปหลายต่อหลายที นั้นคือ ServerGuide แผ่นนี้มีไว้ Install Windows Server ทุก Version ถ้าไม่มีมัน การลงก็จะสมบูรณ์ได้ยาก แม้จะเป็น Win2008 R2 แล้วก็เถิด แต่ก็ Driver ก็ยังคงต้องเอาจากมันอยู่ดี แต่ก็นั้นแหละครับ งานเข้าก็คงเป็นของคน install ที่ต้อง Download แผ่น มา Burn แผ่น แล้วที่สังเกตุนะครับ ตอนนี้แผ่นมาเป็น 2 แผ่นแล้วคือ แยก 32bit กับ 64bit ก็หา Download กันให้ดีๆ แต่สำหรับ 2BeSHOP ก็ไม่ต้องห่วง เราจัดไป อย่าให้เสีย

ด้านนอกตัวเครื่อง
มาคุยกันนอกตัวเครื่องกันก่อน สิ่งหนึ่งที่น่าประทับใจสำหรับรุ่นนี้ที่ออกมาคือ Disk ที่รองรับได้ถึง 16 ลูกบนขนาด 2.5" โอ้มันช่างเยอะจริงๆ ถ้าคุณได้อ่าน M2 จะพบว่ามันรองรับสูงสุด 12 ลูก แม้ standard มันจะมาเหมือนกันที่ 8 ลูกก็ตาม แต่การเพิ่มได้ก็นับว่าเป็นประโยชน์จริงๆ แต่อย่าพึ่งดีใจไป เพราะมันก็มาด้วย Option Backplain ด้านหลังทั้งยวงเลยทีเดียว ราคานี่ยังไม่ทราบ แต่ผมเดาว่าต้องมีหมื่นแน่นอน แต่ก็ดีครับ
สิ่งหนึ่งที่ผมไปอ่านเจอ พบว่า x3650M3 ได้รับการยกย่องว่าจัดสรรพื้นที่ได้อย่างดี โดย PCMagazine เนื่องจากทำพื้นที่ Disk 2.5" 16 ลูกแล้วยังมี DVDROM ด้วย (มานอกตัวเครื่องต้องใส่เอง) ซึ่ง HP ProLiant DL380G7 นั้นไม่มี ถ้าเลือกรุ่นที่รองรับ 16 ลูกต้องใส่ External CDROM แต่นั้นแหละครับ เพราะว่า LightPath LED ของ IBM นั้นมันซ่อนอยู่ข้างใน กดแล้วออกมาดู แต่ของ HP นั้นเป็น Fix ตายตัวอยู่ข้างนอก ทำให้ก็เปลืองพื้นที่กว่าเป็นธรรมดา แต่มีดีก็ย่อมมีเสีย เพราะเท่าที่ตรวจสอบข้อมูล HP ProLiant DL380G7 ตัวแข่งกับมันนี้ มีรุ่น Disk 3.5" ด้วย โอ้ ซึ่ง IBM x3650M3 นั้นไม่มีทางเลือกสำหรับ 3.5" แล้วดังนั้นคนอยากใช้ SATA Disk Size ใหญ่ๆ ถูกๆ ก็อดไป IBM เขาล้ำเสมอ 5555 ล้ำหน้าจนล้ำเกินความต้องการลูกค้าไปซะ
ส่วนต่างของเครื่องก็แบบที่คุ้นเคยกัน ก็ปุ่มเปิด มี USB ด้านหน้าให้ 2 Port มี Port สำหรับต่อจอด้านหน้า เพื่อการ Manage ที่ง่ายขึ้น มี LightPath LED ที่คอยเช็คอุปกรณ์เสีย พร้อม Code ตัวเลขที่คงไว้ให้ช่างอ่านอย่างเดียว เพราะคนธรรมดาดูแล้ว งง แล้วก็มีปุ่มกด Remind เผื่อเราอยากให้มันเช็คอีกสักที อ๋อที่ลืมไม่ได้เลย ที่หายไปใน Version นี้แล้วผมว่ามันดีขึ้นคือ Sticker ที่บอกว่าต้องรอ 5 นาทีหลังเสียบปลั๊ก เหอะๆ เทคโนโลยี่ใหม่ UEFI Bios จริงๆก็ไม่ใหม่ แต่เอาบนเครื่องรุ่นสูงๆ ลงมาในรุ่นล่างๆ แต่ครั้งนี้ไม่มีแปะล่ะ เพราะว่าทำงานได้ไวขึ้น เสียบปลั๊กรอสัก ไม่กี่วินาที ก็จะกดปุ่ม Power เปิดได้เลย มันจะกระพริบช้าลงถึงจะเปิดได้


หลังเครื่อง
ด้านหลังเครื่องก็เหมือนที่เคยคุ้นๆตากัน ก็มีช่อง Power Supply 2 ช่อง ให้มาแล้ว 1 หาเติมเองอีก 1 ส่วนนี้สำคัญ เพราะซื้อรุ่นขนาดนี้แล้วไม่ซื้อ Power Supply เพิ่มก็ดูเหมือนใช้ Function มันไม่ครบ มี Port สำหรับ Remote Management สำหรับเข้าไปสั่ง Reboot / Reset เครื่องผ่าน IP และก็มี Port LAN มาให้ทั้งหมด 2 Port แต่ก็แอบมีให้ Upgrade อีก 2 Port ผ่าน Slot ที่แยกออกมาไม่ปนกันกับ PCI ก็เหมือนตัว M2 มีช่องใส่ PCI-Express ได้ 4 Port เป็น x8 ส่วนใครต้องการ x16 นั้น ต้องซื้อ Card เพิ่มนะครับ เผื่อใครอยากแปลงร่างมันรัน GPU หรือจะทำเป็น Graphic ชั้นเทพขึ้นมา
อีก Port นึงที่ผมดูตั้งนาน ก็แปลกๆดี คือ มี Sticker ติดด้านหลังเสมือนช่องสำหรับเช็คไฟ Error ของเครื่อง เป็นแค่ 3 ตัวคือ ปกติกับผิดปกติ ก็เผื่อไว้ดูหลังเครื่อง แต่ว่าไฟมันแปลกตรงที่ว่ามันไปเหมือนไฟต้องส่องดูเพราะมันอยู่ใน Mainboard ไม่ได้ต่อจาก Board ออกมา เพียงแต่เอาไว้ขอบ Mainboard แล้วเจาะช่องมาให้ด้านนอกรู้ว่าไฟ 3 ดวงนั้นคืออะไร ก็ดีที่อย่างน้อยก็ยังมีด้านหลังให้ดูด้วย นอกนั้นก็ไม่มีอะไร นอกจากช่อง USB ช่องต่อออกจอ แล้วก็ Serial Port



ฝาบนเครื่อง
ฝาเครื่องยังคงเป็นเอกลักษณ์ของเครื่อง Brand และ IBM คือมีคู่มือน้อยๆบอกอยู่ว่าส่วนไหนเป็นอะไร ซึ่งของ IBM ค่อนข้างละเอียดในรายละเอียดของ Board และอำนวยความสะดวกในการเคลมไปถึง FRU ด้วยว่า Part ไหน FRU อะไร สำหรับคนที่งง FRU คืออะไร จะบอกว่าเวลาเคลมสินค้า ทางฝ่ายบริการเขาจะคุยกันที่ FRU ไม่ใช่ PartNumber ของอุปกรณ์ที่เราซื้อมา มันจะคนละเลขกัน แต่เป็นรหัสที่ใกล้เคียงกันเหมือนกันในบางอัน ก็นะ ทำให้ยุ่งยากก็ต้องทำให้เขาสักหน่อย จริงๆมันเป็นเรื่องของสินค้าด้วย เพราะเช่น PartNumber Harddisk มันก็จะมี Disk + ราง Slide แต่เวลาเราเคลม Disk เราก็คงไม่ได้เคลมราง Slide ด้วย มันก็เหมือน 1 Part Number จะมีหลาย FRU นั้นเอง ก็เลยต้องใช้ FRU แทน นี่แหละคือที่มาของมัน


ด้านในตัวเครื่อง
ภายใน นี่แหละสิ่งที่เรารอคอย เปิดมาก็ โอ้พัดลมขนาดใหญ่ 3 ตัว ไว้ดูแลคนละ zone กันเลย ตัวแรกกับตัวสุดท้ายมีหน้าที่ให้ความเย็นกับ CPU ส่วนตัวกลางก็พัดไปที่ Memory มีเหมือนแอบมี Port ตรง Mainboard ไว้ Upgrade หรือว่าอะไรไม่แน่ใจ เหมือนเป็นที่เสียบพัดลมเพิ่ม แต่ไม่เห็นช่องใส่นะ อันนี้ก็แอบงงนิดหน่อย แต่ก็ช่างมัน คงไม่ร้อนอะไร
ดูผิดๆก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก M2 มากนัก ตำแหน่ง Disk ทั้ง 8 นั้นอยู่ซิดด้านซ้ายของเครื่อง ถ้าสังเกตุ มันพ้นตำแหน่งของพัดลมไปแล้วทั้ง 8 ลูก ต่างจาก M2 ที่จะได้รับอนิสงห์จากพัดลมตัวสุดท้ายนิดหน่อย แต่การได้รับอนิสงห์นี่ก็น่ากลัวว่าจะพัดเอาความร้อน มาให้กับ CPU ตัวที่สองด้วย เกรงว่าลมที่มาจะไม่เย็นซะแล้ว ส่วน Disk ทั้ง 8 ลูกก็ใช้ความเย็นหน้าเครื่องเป็นหลักโดยไม่พึ่งพาพัดลม เพราะหลังจากเราเปิดไม่ว่าเครื่องรุ่นไหน ที่เป็น Disk 2.5" จะพบว่า Disk มีอุตหภูมิที่ร้อนใช้ได้เลย หากเปิดในห้องธรรมดาไม่ใช่ห้องแอร์ ร้อนจนน่ากลัวจริงๆ เลยไม่สงสัยว่ามันไปก่อนชาวบ้านเขาเลย
ตำแหน่ง USB Hypervisor ยังคงอยู่ใกล้กับ ที่เสียบ RAID Card Controller ถ้ารุ่นที่มากับ M5015 แล้วจะพบว่าสายที่ต่อจาก Backplain นั้นมาเปลี่ยนไปเป็นสายสีฟ้า ดูดีทีเดียว ต่างจาก M2 หรือทั่วๆไปมักจะเป็นสาย Coper สีดำ สายทำให้ให้มันสั้นพอดีจริงๆ น่าจะช่วยเรื่องความเร็วได้ไม่มากก็น้อย
นอกนั้นทุกอย่างแทบไม่มีอะไรต่างไปจาก M2 คือก็มี LED ไฟบอก Status ของ PCI-Express Port รวมถึงที่ครอบทางลมก็เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำ อย่างไม่มีนัยยะอะไร ก็ยังคงมีตำแหน่งของ Memory บอกว่าอันไหนคือ 1-9 10-18 อ๋อ ลืมไม่ได้เลย IBM x3650M3 นั้นมี Memory แล้ว 18 Slot 9 Slot ต่อ CPU แต่ก่อนจากเดิม M2 มี 16 Slot เหอะๆ ซึ่งตอนนั้นบอกว่าใส่เต็ม 18 แล้วจะไม่ดี ก็เลยทำไว้แค่ 16 คราวนี้ก็ทำมาครบ 18 ซะแล้ว แต่ดูเหมือนคู่แข่งเขาทำ 18 กันมานานแล้วนะ 55555 แต่ก็นะ ยังคงความโดดเด่นของ LCD ตรงตัว Memory แต่ละจุดเพื่อให้รู้ว่า Slot ไหนเสีย
ตัวที่มานี้เป็น RAID ตัว M5015 ซึ่งจะรองรับ Raid 0,1,5,10 แต่ถ้าจะเอา RAID 6 ด้วยต้องเพิ่ม Advance Pack เข้าไป ซึ่งเราเองก็สงสัย คิดว่ามันจะคือ Key สำหรับกรอก ก็ยังคิดอยู่ว่าจะไปกรอกตรงไหน ปรากฎว่ามันเป็น Hardware ครับ ตัวเล็กๆ จิ้วๆ เสียบไปตรง Card แค่นั้นก็จะรองรับ RAID 6 , 60 ได้แล้ว คนไม่รู้อาจจะงมเล็กน้อยว่าจะไปเสียบไว้ตรงไหนดีของ Mainboard ผมเลยถ่ายภาพของมันมาให้ดูด้วย


ทดสอบรัน
มาเริ่ม Boot เครื่องกันดีกว่า อย่างที่เกริ่นไว้แต่ตอนต้น เสียบปลั๊กรอ 15 วินาทีโดยประมาณ ไฟจะกระพริบรัวๆ เปิดไงก็ไม่ติด ก็ไม่ต้องตกใจไฟ หรือบางรุ่น IBM ไม่มีไฟกระพริบเลยก็มีเพื่อไม่ให้กดเปิด 5555 พอติดมาก็เปิด การเปิดครั้งแรกที่เสียบปลั๊กจะรอนานสัก 1 นาทีเศษได้ ก็จะมีหน้าจอขึ้นประมาณ IMM initializing ก็ยาวนานหน่อย แต่การ Reboot ครั้งต่อไปก็จะรวดเร็วขึ้น มันเป็นการเช็คระบบว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างเหมือนเช็คทุกอย่างก่อน Boot นั้นแหละ
หน้าจอหลังจากนั้นก็ Graphic สวยงามเหมือนตอน M2 นั้นแหละแต่ไวขึ้นมาก ด้วย Bios upgrade Firmware Version ใหม่ ทำให้ไวขึ้นกว่าเดิม แล้วก็เหมือนเคย ไม่มีบอก Spec อะไรเลย มีแต่หน้าจอ Graphic สวยงาม 5555 อยากรู้ Spec พอเข้าหน้า Graphic สีขาวสวยๆก็กด F1 เลย ไม่ต้องรอมัน ปกติบางคนรอมัน แล้วทำให้เสียเวลา เพราะบางทีมันจะรอ F1 ไม่นาน แต่ Version นี้สังเกตุว่ารอนานขึ้น เพราะเวลากดไม่ทันข้ามผ่านไปก็เสียเวลามา Boot ใหม่อีกรอบนึง
หากคุณต้องการ Boot เครื่องแบบไม่มี OS แล้วให้มันขึ้น RAID ต้องเข้า BIOS ไปเพิ่ม Latancy Only ด้วย เพื่อเวลาไม่ใส่แผ่น จะมี Boot ส่วนของ RAID เข้ามาด้วย แต่ถ้าไม่เพิ่ม ใส่แผ่น ServerGuide ไปมันก็จะมีให้กดเข้าส่วนของ RAID Controller ได้เช่นเดียวกัน สำหรับใน BIOS นั้นคุณสามารถเข้าไป Setting ส่วนของ Part IMM Remote Management ได้ โดยใส่ IP ให้มันหรือค่า Default หรือ DHCP แต่ผมว่า Fix IP ไปดีที่สุดเพราะเวลาเรา Remote มาจะได้มี ip ที่ชัดเจน
สำหรับการจัดการ RAID Controller นั้น ก็ยังคงใช้เข้าไปกด Ctrl+H แต่พอเข้าใจ RAID ก็ยังคงหน้าตาบ้านนอกเหมือนเดิม คือ เป็นแบบเหมือน Windows 3.11 หน้าตาไม่สวยงาม ใช้งานยาก Response ของการกดหน้าจอช้า สารพัด ปกติผมจะไม่ทำ RAID บนหน้าจอนี้ เพราะใช้งานยากมาก ถึงมากที่สุด ปกติจะใช้ ServerGuide ทำ RAID เอาง่ายสุด แล้วค่อยเอาแผ่น Linux ลงหากจะใช้ Linux นะ แนะนำ แนะนำ แต่ก็นั้นแหละครับ หน้าตาห่วย แต่การทำงาน OK เพราะทดสอบทำ RAID ผ่าน ServerGuide นั้นทำงานได้ไวมาก ในการ Config จากปกติถ้าใช้ BR10i ตัวที่มากับ x3400M3 นั้น จะใช้เวลานานกว่ามากหลายเท่าตัวทีเดียว อันนี้กดแป๊บเดียวไม่ถึง 30 วินาทีได้ ก็เสร็จล่ะ แต่ถ้า BR10i อาจจะต้องรอระดับหลายนาทีเลย ก็ได้อย่างเสียอย่าง แต่ถ้าอยากทำ Graphic แล้วทำได้แค่นี้ ผมขอหน้าจอฟ้าๆแบบ HP ดีกว่า ง่ายดี คุ้นเคยด้วย


สรุป
บทสรุปของรุ่นนี้ ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่า เหมาะกับลูกค้าที่ไปรับงาน ERP , Database หรือระบบงานขนาดกลาง - ใหญ่ หากขนาดเล็กแต่ต้องการ Redundantcy ก็หนีไม่พ้นตัวนี้ จะรัน Web Server ก็ได้ ก็จะนิ่งเสถียรภาพ หรืองาน Virtualization ที่ต้องการไปแทน Server เก่าๆ หลายๆตัวก็รองรับได้สบายๆ งานอุปกรณ์ดี เนียน การเช็คระบบ Error ต่างๆก็ทำได้ดี จะมีให้ตำหนิก็คือ RAID นี่แหละที่ใช้งานยากมาก ถึงมากที่สุด แต่ก็ถือว่ามีทางออกด้วย ServerGuide ก็รันกันไป
สำหรับคนที่วาง Co-location ก็อาจจะต้องดูว่าใช้ Disk เต็มที่กี่ลูก เพราะว่า x3550M3 ก็รองรับได้ถึง 6 ลูก อันนี้ได้ 8 ลูก ดังนั้นการลงทุนกับ 1U อาจจะคุ้มกว่า นอกเสียจากเรามี Data Center ของเราเองที่ Office ไม่ซีเรียสเรื่องขนาดพื้นที่ อยากจะได้เครื่องที่ระบายความร้อนดีหน่อย เพราะ 2U ย่อมระบายดีกว่า 1U แน่นอน รวมไปถึงการ Extend ได้ในอนาคต แต่ก็อาจจะต้องตรวจสอบเรื่อง Backplain ชุดที่ 2 และการต่อ RAID ด้วยเพราะว่าสายตรง RAID นั้นใช้ไปแล้ว 2 เส้น ถ้าเพิ่ม Backplain อีก 8 ลูกก็ต้องใช้อีก 2 เส้นจะต่อกันแบบไหน คิดว่าต่อได้แน่ แต่ต้องดูว่า Option มูลค่าเท่าไร ก็รุ่นนี้ก็ให้คะแนนสูงเกือบเต็ม ถ้าไม่เสียตรง RAID ใช้งานยาก แต่มันดีตรงที่มันทำงานได้รวดเร็วมากสำหรับ RAID M5015 ตัวนี้ เครื่องตัวนี้ราคารวม Option ก็มาไม่ถึงแสน ก็ถือว่าราคาดีทีเดียว ส่วนรุ่น CPU TOP หน่อยก็ไม่เกิน 2 แสน ก็ลองดูว่าแบบไหนเหมาะกับเราที่สุดนะครับ













Home Product Service Solution Partner / Affiliate Support About Us Community
Privacy Policy Terms of Service Copyright/IP Policy