เกาะกระแสสินค้าไอที

วิธีเลือกซื้อสินค้าไอที

เรื่องน่ารู้

สินค้าใหม่แกะกล่อง

TOWER (1CPU E3)

HPE ProLiant MicroServer Gen10
Lenovo ThinkSystem ST50 V2 Lenovo ThinkSystem ST250 V2 HPE ProLiant ML30 Gen11 DELL EMC PowerEdge T40 DELL EMC PowerEdge T150 DELL EMC PowerEdge T350 DELL EMC PowerEdge T360

Tower (1CPU)

HPE ProLiant ML110 Gen10 HPE ProLiant ML110 Gen11

Tower (2CPU)

DELL EMC PowerEdge T550
HPE ProLiant ML350 Gen10
HPE ProLiant ML350 Gen11
Lenovo ThinkSystem ST550
Lenovo ThinkSystem ST650 V2

Rack 1U (1CPU)

Lenovo ThinkSystem SR250 V2
DELL EMC PowerEdge R250
DELL EMC PowerEdge R350
DELL EMC PowerEdge R360
HPE ProLiant DL20 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL320 Gen11
HPE ProLiant DL325 Gen10 Plus v2
HPE ProLiant DL325 Gen11

Rack 1U (2CPU)

Lenovo ThinkSystem SR530
Lenovo ThinkSystem SR630
Lenovo ThinkSystem SR635
Lenovo ThinkSystem SR645
DELL EMC PowerEdge R450
DELL EMC PowerEdge R650
HPE ProLiant DL160 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL360 Gen11
HPE ProLiant DL365 Gen11
DELL EMC PowerEdge R6525

Rack 2U (2CPU Entry)

DELL EMC PowerEdge R550
HPE ProLiant DL180 Gen10

Rack 2U (2CPU Hi-end)

Lenovo ThinkSystem SR550
Lenovo ThinkSystem SR590
Lenovo ThinkSystem SR650 V2
Lenovo ThinkSystem SR655 (AMD 1CPU)
DELL EMC PowerEdge R7515
DELL EMC PowerEdge R7525
DELL EMC PowerEdge R740
DELL EMC PowerEdge R750
HPE ProLiant DL380 Gen10
HPE ProLiant DL380 Gen11
HPE ProLiant DL380 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL385 Gen10
HPE ProLiant DL385 Gen10 Plus v2

Rack 2U (4CPU Hi-end)

DELL EMC PowerEdge R840

Hyper-Converged

DELL EMC vSAN Solution
Preview DELL EMC VxRail

Solution Ready Package

Lenovo ThinkSystem HA Proxmox
Lenovo Server + Storage

Course Training

Training Microsoft Server Workshop

วิธีการสั่งซื้อ
สิทธิประโยขน์สมาชิก
ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
วิธีการชำระเงิน
วิธีการส่งสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา



ทีมงานเราผ่าน Certified Worldwide
HPE Gold Partner Certified
HP Certificate Partner FY16


DELLEMC Partner Certified
DELLEMC Platinum Partner

Microsoft Certified (MCSA) Microsoft Certified Solutions Associate

VMware Certified (VCP) VMware Certified Professional 5

Microsoft Silver Partner MidMarket Solution Provider Cisco Partner

VMware Partner
 


สวัสดีครับ วันนี้เรามาดู HPE ProLiant อีกตัวนึงได้กัน เรียกได้ว่าเป็นตัวท็อปของ Rack 1U นิยมใช้กันบน Data Center ด้วยขนาดเพียง 1U และการรองรับ 2CPU ถ้าถามว่าเครื่องที่ใช้ size นี้หากทำเว็บจะเว็บใหญ่ขนาดไหน ก็ต้องบอกว่าถ้าเว็บเดียวก็รองรับสักวันละ แสนคน แต่ถ้าตลาดที่คนใช้เยอะๆก็พวก Web Hosting เจ้าใหญ่ๆที่เริ่มมีลูกค้ามากๆครับ เพราะรองรับ Full Redundant

สิ่งที่ให้มาในกล่อง
กล่องจะมีขนาดใหญ่ size บางๆ สิ่งทีมาก็คือราง และ ปลั๊กไฟ รวมไปถึงกระดาษบางๆใบนึงที่มี QR Code ให้ scan สำหรับ Quick setup สำหรับตัวฝาครอบที่สวยงามสีเงินๆรังผึ้งนั้น จะมานอกกล่องแยกต่างหากครับ มันคือ Part Number นี้ [664918-B21] HP 1U Security Bezel Kit อ่ะ จะต้องได้ไปด้วยนะครับ แต่สำหรับบางรุ่นล่างลงมาพวก DL60 ก็จะไม่มีให้



ภายนอกด้านหน้าตัวเครื่อง
ตัวเครื่องค่อนข้างลึกมาก ดังนั้นใครมอง Server รุ่นท็อป อาจจะต้องมองตู้ที่ลึก 100 ขึ้นไป ถ้าตู้แบรนด์ต่างๆมักจะเจอขนาด 110 ได้ ส่วนด้านหน้าเครื่องก็เป็นอะไรที่โล่งๆครับ เราจะเห็นว่ามีช่อง Disk ให้เราใส่ได้ทั้งหมด 8 ลูกด้วยกัน ไม่มี DVDROM และตัว LCD อะไรในการแสดง Status ต่างๆ แต่ด้านขวาจะมีไฟ LED ที่บอก Status ต่างๆตามปรกติไม่ว่าจะไฟเครื่อง ไฟ UID ไฟ Alert เวลามีอุปกรณ์เสีย และก็มี USB-3 มาให้ 1 Port

ถัดมาตรงกลางจะเป็นตัวป้ายสำหรับดึงมาดู Serial เครื่องได้ เวลาเราแจ้งเคลม เพื่อให้สะดวกและทราบว่าอะไรอยู่ตรงไหน

สิ่งที่ไม่เห็นสำหรับ DL360 Gen9 ก็คือ Insight Display ซึ่งกลายไปเป็น Optional ไปแล้วเหมือน DL380 รุ่นพี่มันนั้นเอง เหมือนจะกลายเป็นเทรนไปเสียแล้วทั้ง Lenovo , HPE ทำแบบเดียวกัน ตัด Option ตัวนี้ทิ้ง ซึ่งทำให้ขาดการเป็นรุ่นท็อปไปเลย ก็คงแข่งขันกันที่ราคากันหนักหน่วง ต่างคนต่างตัดอะไรได้ก็ตัดออก ส่วนตัวรู้สึกเสียดายจริงๆ





ภายนอกด้านหลังตัวเครื่อง
ด้านหลังเครื่องก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ รองรับ 2 Power Supply เป็นจุดเด่นของ HPE ที่่ Hotplug Power Supply นั้นใช้ร่วมกันไดหลายรุ่น ก็เป็นตัว 500watt ครับ ส่วน LAN ก็ style รุ่นท็อป จะให้มา 4 Port รวมไปถึง VGA เป็นมาตราฐาน แยก Port iLO ออกมาจาก Port LAN อื่นๆปรกติ แต่อาจจะเป็นเหตุผลก็ได้ว่า iLo ทุกวันนี้มีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เวลาอยู่ในตลาด IDC เรามักจะไม่ได้อยู่หน้าเครื่องอยู่ล่ะ เราก็จะใช้การ Remote iLo เข้าไปไม่ว่าจะ Restart เครื่อง ดู Status ต่างๆว่าเครื่องปรกติสุขดีไหม แต่สำหรับใครต้องการระดับ Advance ก็ซื้อ License เพิ่มได้ก็จะทำให้ดูหน้าจอระดับ KVM หรือแม้กระทั้งลง OS เอง ได้ด้วยเสมือนอยู่หน้าเครื่อง ผมเลยไม่แน่ใจว่าเหตุผลนี้ไหมทำให้ตัด Option บางอย่างออกที่ดูจากหน้าจอ







ฝาเครื่อง
ฝาเครื่องก็เหมือนเดิม ที่บอกเกี่ยวกับ mainboard ว่าตำแหน่งไหนคืออะไร แล้วก็บอกตำแหน่ง Config Disk ว่าทำอย่างไรได้บ้าง มีทั้งแบบ Disk 2.5" จำนวน 8 ลูก และแบบ 3.5" จำนวน 4 ลูก มีพวกเรื่องของ iLO security รวมไปถึง DIMM Memory Config





ภายในตัวเครื่อง ภาพรวม
ภาพรวมๆภายในตัวเครื่องมาแบบ clean clean ใสๆ ไม่มีฝาครอบพลาสติกเหมือนที่เราเคยเห็นๆในการดักลม พัดลมดูห่างๆกันชอบกล แต่ก็คงทำมาสำหรับแต่ละตัวชัดเจนอยู่ล่ะ ก็จะมีเว้นสำหรับเพิ่มพัดลมไว้ 2 ตัวด้วยกัน สำหรับ CPU ที่สอง ปรกติ Option พวกนี้มาพร้อมการซื้อ CPU เพิ่มก็จะได้ CPU + Heatsink + พัดลม มาด้วย สำหรับ Memory ก็ CPU ละ 12 แถว มากมายเหลือเกิน แอบเห็นช่องพัดลม มีมากกว่าจำนวนพัดลมที่รองรับ แสดงว่าอาจจะมี Option พัดลมอีกรูปแบบแน่ๆ ช่องถึงเกินมากว่าเท่าตัว







ภายในตัวเครื่อง Battery Backup Cache
หากเราไล่ๆดู ก็จะพบสายสีฟ้าที่เป็น SAS วิ่งเข้า RAID Controller เลาะผ่านข้างเครื่องไป แต่ตัวนี้ไม่มี Memory Backup Cache แต่ก็มีช่องสำหรับเสียบได้ หากดูใน mainboard มันก็จะอยู่ตรงระหว่างพัดลมที่ 3-4 ที่มี Port ขาวๆอยู่นั้นเอง



ภายในตัวเครื่อง Dual USB + 1 MicroSD
ตัวนี้ในฐานะรุ่นท็อป ก็มาแบบ DL380 เลยคือ Dual USB และ 1 MicroSD ไว้สำหรับทำ Redundant Hypervisor ESXi นั้นเอง คือเสียบทั้ง USB และ MicroSD ส่วนตัวอยากลองใช้มาก มันน่าสนใจทีเดียว เพราะการลง ESXi บน Internal Disk ที่ทำ RAID จะคอนข้างช้ากว่าการลงบน USB แต่ก็มีคำถามว่าหากลงบน USB แล้วเกิดเสียขึ้นมาก็งานงอก มันไม่เหมือนลงบน Disk x 2 แล้วทำ RAID กัน แต่ก็ต้องยอมเสีย Disk ไปคู่นึงเลยทีเดียว





ภายในตัวเครื่อง RAID Controller
สำหรับ RAID Controller ตัวนี้ก็เหมือนกับตัว DL380 คือติดมาอยู่ใน mainbord เลยรองรับ 2 เส้น SAS ที่ต่อเข้ามาที่ Controller ถัดไปอีกนึงก็จะเห็น SAS 2 Port สำหรับการต่อตรงเข้า mainboard สำหรับใครที่ไม่ต้องการผ่าน RAID Controller ถามว่ามันมีไหมความต้องการแบบนี้ มันก็มีครับ สำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ต่อตรงเข้า mainboard เร็วกว่า แต่เรื่อง RAID ก็จะอีกเรื่องนึงล่ะ เพราะอย่างไรผ่าน RAID Controller ถ้าทำ RAID ก็ปลอดภัยกว่าเช่นกัน ก็มีให้เลือกครับ แต่หากจะอยากแยกชุดก็ลองเปลี่ยนชุดสายดู เพราะสายมา 2 เส้น ก็เส้นละ 4 ลูกอยู่แล้ว





ภายในตัวเครื่อง PCI Riser
ตัวเครื่องมี Riser Card มาให้ 1 ชุด และรองรับอีก 1 ชุดที่ยังว่างอยู่ ก็สามารถเพิ่มได้ ถามว่าพวกนี้เอาไว้ทำอะไร มันก็สำหรับใส่การ์ดพวกต่อกับ Storage HBA รวมไปถึงหากอยากจะใส่พวก GPU ก็ทำได้เช่นกัน สำหรับ HBA ถ้าอยาก redundant ก็มักจะใส่ single port 2 ใบ แต่ถ้าเอาประหยัดก็ dual port ใบเดียว อันนี้ก็แล้วแต่งบและระดับความซีเรียสของระบบครับ





บทสรุปของ Server
หากพูดถึงบทสรุปของ DL360 Gen9 ก็เป็นรุ่นท็อป 2 CPU ในการรองรับ ส่วนตัวไม่ชอบที่ตัด Option ทิ้ง แต่หากใครสนใจก็คิดว่าควรซื้อให้ครบๆ เพื่อให้มันสมบูรณ์ แต่การตัดมันก็มีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการทำ Cluster ทำ HA ดังนั้นก็เน้นถูก แต่ประสิทธิภาพสูง รองรับได้มาก มีความน่าเชื่อถือสูง แต่หากใครรันแบบเดี่ยวๆ ตัวเดียวก็ต้องใช้ iLO ให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบอุปกรณ์เสีย

อย่างไรผมก็ยังคงชอบ HPE ในฟีเจอร์สำหรับ Status Disk นะ เป็นจุดเด่นและเป็นยี่ห้อเดียวที่ทำแบบนี้ สามารถบอก Status Disk ได้ละเอียดมาก เพราะ Disk เป็นอุปกรณ์ที่เสียง่ายที่สุดใน Server ส่วนอื่นๆโอกาสเจอเสียน้อยแต่ก็มี

การจัดระเบียบภายใน Server ก็ทำได้ดี แต่ก็ไม่แกรนด์สักเท่าไร พัดลมน้อย ห่างๆ แปลกๆ แต่ผมก็ยังคงเชื่อมั่นในแบรนด์ว่าเขาทำ research แล้วใส่มาเพียงพอสำหรับความต้องการของ Server ดังนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อน

สนใจติดต่อ 02-118-6767 LINE ID : 2beshop.com

ดูราคา HPE ProLiant DL360 Gen9
Home Product Service Solution Partner / Affiliate Support About Us Community
Privacy Policy Terms of Service Copyright/IP Policy