ศูนย์รวมข้อมูล หรือ Data Center ในโรงพยาบาล
กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่,  เนื้อหาสำหรับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ,  โรงพยาบาล,  ไม่มีหมวดหมู่

ศูนย์ข้อมูล (Data Center) คืออะไร ทำงานอย่างไร ? และเรานำมาใช้ในโรงพยาบาลอย่างไร ?

 

ศูนย์ข้อมูลเป็นสถานที่ ภายในอาคารธุรกิจ เป็นจุดที่เราจะใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูล และนำไปประมวลผลข้อมูล และระบบ software หรือ application ต่าง ๆ ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Network ใน และนอกองค์กรได้ แต่เราจะเน้นเชื่อมต่อข้อมูลการทำงานของพนักงาน กับและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล

 

มีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตศูนย์ข้อมูล หรือที่เรียกว่า Data Center นี้จะถูกแทนที่ด้วยระบบการจัดเก็บบน Cloud แต่ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงเพื่อไปใช้ระบบ Cloud ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะระบบ Cloud นั้นแม้จะมีการเริ่มต้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อย แต่เมื่อข้อมูลเติบโตขึ้นจนมีจำนวนมหาศาล จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการจัดตั้ง Data Center ภายในองค์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ต้องการความปลอดภัยขั้นสุง และมีการรันระบบแอปพลิเคชัน ที่จำเป็นต่อการใช้ภายใน

 

ในปัจจุบัน มีสิ่งที่องค์มักใช้คือ Edge Data Center ซึ่งจะช่วยการทำงานกับข้อมูลระบบ IoT (Internet of Things) ซึ่งจะช่วยเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

ซึ่งเทคโนโยชีที่นำมาใช้สร้าง Edge Data Center จะมีการใช้ระบบที่เรียกว่า “Virtualization” และ “Containers” ของการประมวลผล และจัดการกับข้อมูล ซึ่งจะทำให้ Edge Data Center มีรูปแบบการทำงานที่ใกล้เคียงกับ Cloud มากขึ้น แต่ยังมีความเป็นการจัดการระบบแบบภายในองค์กรอยู่ เราอาจกล่าวได้ว่าระบบนี้เป็นแบบลูกผสม ระหว่าง Data Center แบบทั่วไป กับระบบ Cloud นั่นเอง

 

ตัวอย่างการนำ Edge Data Center มาใช้:

  1. การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับห้องฉุกเฉิน (Real-time Analytics for Emergency Rooms): ศูนย์ข้อมูลขอบสามารถประมวลผลข้อมูลได้ทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตาย
  2. บันทึกผู้ป่วยขอบ (Localized Patient Records): แพทย์และพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องดึงข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลใหญ่
  3. แพทย์ทางไกล (Telemedicine): ศูนย์ข้อมูลขอบสามารถให้ความจำเป็นในการสื่อสารวิดีโอคุณภาพสูงและความหน่วงที่ต่ำ ที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยและสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging): ข้อมูลขนาดใหญ่เช่นภาพ MRI และ X-ray สามารถถูกประมวลผลได้ในตัวด้วยศูนย์ข้อมูลขอบ ก่อนที่จะถูกส่งไปยังศูนย์ข้อมูลใหญ่

 

ในสมัยก่อนการสร้าง Data Center เป็นสิ่งที่จำต้องได้ (มันแพงมาก) กับองค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น เพราะหากไม่ใหญ่จริง ก็จะไม่สามารถซื้อพื้นที่หน่วยความจำใหญ่ ๆ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มาใช้ร่วม หรือแม้แต่การจัดหาบุคคลากรมาดูแล ก็เป็นเรื่องใหญ่เกินตัวกว่าที่บริษัท หรือองค์กรเล็ก ๆ จะเอื้อมถึง 

ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และถูกลง จึงทำให้องค์กรมากมายสามารถสร้าง Data Center ของตัวเองได้ง่ายกว่าเดิม และมีให้เลือกการวางระบบหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Colocation, การสร้างระบบ host, Cloud หรือการสร้าง Edge Data Center

 

ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center จำเป็นจำต้องได้รับการดูแล 24 ชม. เนื่องจากไม่สามารถมี downtime ได้เลย (หรือควรจะมีให้น้อยที่สุดจริงๆ ) จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องอุณหภูมิ ที่จะต้องติดระบบระบายอากาศ และแอร์ให้กับมัน เพราะไม่อย่างนั้นมันจะร้อนมาก และทำให้ระบบล้มเหลวได้ นอกจากนี้ Data Center จะมีเสียงดัง จากอุปกรณ์ที่ทำงานดังนั้น จะต้องมีการนำฉนวนกันเสียงมาใช้ด้วย

 

เราจะป้องกันการ Downtime ของ Server ทำอย่างไร ?

เพื่อป้องกันการ downtime ของ Server ในระบบ Data Center ของเรา ทางเราได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เราทำการวางแผนและออกแบบระบบ Data Center ที่ปลอดภัยและมีความเสถียรสูง สิ่งสำคัญที่สุดคือการติดตั้งระบบ backup ที่มีความเชื่อถือได้สูง อีกทั้งเรามีผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลและบำรุงรักษาระบบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่า Server ของคุณจะทำงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและรักษาระบบอุณหภูมิที่เหมาะสมใน Data Center เพื่อป้องกันความร้อนเกินไปที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ และด้วยการใช้ฉนวนกันเสียงที่มีคุณภาพ เราสร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบและเหมาะสมสำหรับการทำงานของ Data Center ของคุณ

 

ปัญหาที่ทำให้เกิดการดับเครื่องของเซิร์ฟเวอร์ เราสามารถพูดถึงได้หลากหลายอย่าง เช่น

  • ภาพรวมของระบบที่ไม่เสถียร
  • ปัญหาการเชื่อมต่อที่ไม่เพียงพอ
  • การกระทำของผู้ใช้ที่ไม่เหมาะสม

โดยเราจำเป็นต้องพิจารณาและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดสถานการณ์ downtime ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ของระบบเว็บไซต์ของคุณ