เกาะกระแสสินค้าไอที

วิธีเลือกซื้อสินค้าไอที

เรื่องน่ารู้

สินค้าใหม่แกะกล่อง

TOWER (1CPU E3)

HPE ProLiant MicroServer Gen10
Lenovo ThinkSystem ST50 V2 Lenovo ThinkSystem ST250 V2 HPE ProLiant ML30 Gen11 DELL EMC PowerEdge T40 DELL EMC PowerEdge T150 DELL EMC PowerEdge T350 DELL EMC PowerEdge T360

Tower (1CPU)

HPE ProLiant ML110 Gen10 HPE ProLiant ML110 Gen11

Tower (2CPU)

DELL EMC PowerEdge T550
HPE ProLiant ML350 Gen10
HPE ProLiant ML350 Gen11
Lenovo ThinkSystem ST550
Lenovo ThinkSystem ST650 V2

Rack 1U (1CPU)

Lenovo ThinkSystem SR250 V2
DELL EMC PowerEdge R250
DELL EMC PowerEdge R350
DELL EMC PowerEdge R360
HPE ProLiant DL20 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL320 Gen11
HPE ProLiant DL325 Gen10 Plus v2
HPE ProLiant DL325 Gen11

Rack 1U (2CPU)

Lenovo ThinkSystem SR530
Lenovo ThinkSystem SR630
Lenovo ThinkSystem SR635
Lenovo ThinkSystem SR645
DELL EMC PowerEdge R450
DELL EMC PowerEdge R650
HPE ProLiant DL160 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10
HPE ProLiant DL360 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL360 Gen11
HPE ProLiant DL365 Gen11
DELL EMC PowerEdge R6525

Rack 2U (2CPU Entry)

DELL EMC PowerEdge R550
HPE ProLiant DL180 Gen10

Rack 2U (2CPU Hi-end)

Lenovo ThinkSystem SR550
Lenovo ThinkSystem SR590
Lenovo ThinkSystem SR650 V2
Lenovo ThinkSystem SR655 (AMD 1CPU)
DELL EMC PowerEdge R7515
DELL EMC PowerEdge R7525
DELL EMC PowerEdge R740
DELL EMC PowerEdge R750
HPE ProLiant DL380 Gen10
HPE ProLiant DL380 Gen11
HPE ProLiant DL380 Gen10 Plus
HPE ProLiant DL385 Gen10
HPE ProLiant DL385 Gen10 Plus v2

Rack 2U (4CPU Hi-end)

DELL EMC PowerEdge R840

Hyper-Converged

DELL EMC vSAN Solution
Preview DELL EMC VxRail

Solution Ready Package

Lenovo ThinkSystem HA Proxmox
Lenovo Server + Storage

Course Training

Training Microsoft Server Workshop

วิธีการสั่งซื้อ
สิทธิประโยขน์สมาชิก
ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
วิธีการชำระเงิน
วิธีการส่งสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา



ทีมงานเราผ่าน Certified Worldwide
HPE Gold Partner Certified
HP Certificate Partner FY16


DELLEMC Partner Certified
DELLEMC Platinum Partner

Microsoft Certified (MCSA) Microsoft Certified Solutions Associate

VMware Certified (VCP) VMware Certified Professional 5

Microsoft Silver Partner MidMarket Solution Provider Cisco Partner

VMware Partner
 
สวัสดีครับ ในที่สุดก็ได้ Review x3400 กันสักที หลังจากที่ผ่านตามานาน ผ่าน Office มาหลายต่อหลายล๊อต ก็ไม่มีโอกาสได้แกะมันสักที ครั้งนี้ก็เป็นช่วงที่ดีที่จะได้ทำ รุ่นนี้เป็นรุ่นที่มาแทน IBM xSeries 226 นะครับ ก็ถือว่าเป็นรุ่นขนาดกลางสำหรับ System X เลยทีเดียว เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ
ครั้งแรกที่เห็นกล่องก็ตะลึง เพราะมันใหญ่มาก ถ้าเทียบกับ x226 แต่ก่อนแล้วก็ถือว่าใหญ่กว่าพอสมควรเลยทีเดียว ต้องยก 2 คนถึงจะยกกันได้ พอเปิดมาส่วนแรกที่เห็นก็คือ ฝาด้านข้าง ที่มีฝาเปิดด้านข้างเป็นแบบดึงขึ้นแล้วเปิด มีช่องเสียบล๊อตกุญแจ เหมือนกับ x3200 ที่เคย Review กันไป สิ่งที่ได้มากับของนั้นมีดังต่อไปนี้

ของที่มีมาให้
  1. Server
  2. คู่มือเป็นเล่ม
  3. CD Install Guide
  4. IBM Director พร้อมลิขสิทธิ์เฉพาะ IBM
  5. สายไฟ นอกกล่อง


ด้านหน้าตัวเครื่อง
พอเราได้ยก Server ออกมาก็พบว่า Server มีขนาดค่อนข้างลึกทีเดียว ความลึกที่วัดคร่าวๆคือ 75 ชม. ถ้าจะใส่ตู้ Rack ก็คงต้องหาตู้ Rack ระดับ 80 cm ขึ้นไป ตัวเครื่องดูแข็งแรงตาม style IBM เป็นสีดำเข้ม ด้านล่างขวาของหน้าเครื่องเป็น Serial Number ของเครื่องและ Part Number ของเครื่อง สำหรับเครื่องรุ่นนี้ออกมาไม่มี Floppy Disk เหมือนกับรุ่นอื่นๆในสมัยนี้ที่ไม่ค่อยมีกัน คงเป็นเพราะสมัยก่อน Floppy Disk มีส่วนสำคัญสำหรับการ Install Driver แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยี่มันก้าวไปถึงระดับ Linux ก็มองเห็น Hardware เกือบหมดแล้ว


ด้านหลังเครื่อง
ก็เหมือนเครื่องทั่วๆไป ประกอบด้วย Slot Serial , Parallel , Slot สำหรับเสียบจอ Monitor , PS2 สำหรับ Keyboard and Mouse และก็ USB 2 Port และก็มี LAN 10/100/1000 Mbps จำนวน 1 Port สำหรับ อีก 1 Port สำหรับ System Management แต่จุดเด่นของก้นที่เห็น คือ ตาม slot ที่ว่างๆอยู่ทางด้านล่าง จะบอกด้วยว่าเป็นช่องสำหรับอะไร ก็ตามรูป เช่น บนสุดเป็น PCIe x8 (x4) 25W อารมย์ใส่ใจในรายละเอียดมาก แล้วก็ที่เห็นคือ รุ่นนี้ไม่ใช่ Reduntdant Power Supply เพราะมีช่องเสียบ Power ช่องเดียวแล้วไม่มีช่องให้เสียบเพิ่มด้วย


ฝาข้างเครื่อง
เป็นแบบมือจับ ดันขึ้นก็ดึงออกแล้วทันที แล้วมีกุญแจล๊อต ป้องกันการเปิดด้านในเครื่องครับ เหมือนรุ่น x3200 แล้วข้อดีอีกอย่างที่เห็นคือ ข้างในของฝากข้างเครื่องนั้น มีเสมือนคู่มือ Mainboard ติดอยู่ให้ครับ คอยบอกว่า slot ไหนเป็นอะไร แรม slot 1 2 3 4 อันไหน แล้วอันไหนเป็น PCI PCI-X PCI-E บอกหมดครับ ก็ถือว่ค่อนข้างสะดวกดีสำหรับอีกหน่อย ทำคู่มือหาย


เปิดหน้ากากหน้าใส่ Harddisk
Harddisk รุ่นเป็น Hot Swap ใส่โดยการเปิดหน้ากากด้านหน้าออกมา ก็กดด้านข้างนิดเดียวแล้วเปิดออกเหมือนเปิดประตู ภายในก็ชีเปลือยเลยครับท่าน แต่ที่เหลือบไปเห็นโดดเด่นขึ้นมาคือช่องใส่ CDROM เป็นเหมือน Simple Swap ด้วยคือเสมือนมีราง แล้วก็ดึงออกมาได้ เจ๋งสุดๆ ส่วนตัวของ Harddisk ก็ตัวแรกก็ถูกว่างเอาไว้ให้รู้ว่าต้องใส่ช่องไหนก่อน แล้วค่อยแกะช่องที่เหลือตามมา ไล่ลงมาเรื่อยๆ ดังภาพ ด้านบนก็มีไฟบอก Status ของเครื่อง นอกนั้นก็มี USB 2 Port สำหรับช่องเล็กๆ
Tape Drive Backup นั้นยังไม่เห็นนะครับ ตัวนี้ลูกค้าไม่ได้สั่งด้วย เลยไม่รู้ว่าใส่อย่างไร เพราะถ้าตอน x226 จะมีช่องเล็กๆ เหมือน Floppy Disk แต่ตัวนี้จะมี Slot Size เท่ากับ CDROM มา 3 Slot



ด้านในตัวเครื่อง
มาถึงจุดที่ทุกๆคนอยากเห็นกันแล้ว นั้นคือด้านใน จากภาพก็จะเห็นว่ามีความอลังการอยู่ในตัวของมัน มีการจัดวางอย่างเป็นระบบระเบียบ สิ่งแรกที่สะดุดตาคงเป็น FAN หรือพัดลมนั้นแหละที่เป็น Swap แบบถอดเข้าออกได้ง่ายดาย ไม่ต้องจั้มสายไฟให้เมื่อยตุ้ม ก็มีเหลือไว้ให้ใส่เพิ่มอีก 2 ช่อง แต่ก็มีคำถามในใจว่าซื้ออย่างไร เพราะปกติพัดลมจะมาพร้อมกับ Power Supply Upgrade น้นคือ Reduntdant นั้นเอง มาพร้อมกัน แต่นี่ไม่มี Reduntdant แต่ก็เอาล่ะ มีดีกว่าไม่มีเผื่อร้อน อิอิ



Memory Upgrade
จุดต่อไปที่ผมหาคือ ช่องใส่ Memory แต่เมื่อเห็น Memory ก็ต้องตกใจก่อน เพราะ Memory รุ่นสูงๆสมัยนี้มี Heatsink มาให้ด้วย เห็นสีส้มๆ อารมย์นั้นเลย แต่มันใส่ที่ไหนว้า ดูรูปภายในแล้วมันอยู่ตรงไหน แต่จากประสบการณ์ที่ยังมีอยู่บ้างก็เลยไปเห็นคันโยกสำหรับ Power Supply พอเปิดดูก็เลยเห็น Memory เอาเป็นทีมงานที่ถ่ายภาพแล้วไม่เคยเห็น ถึงกับอึ่งไปเลยทีเดียว ว่ามันเล่นอยู่ตรงนี้เลยเหรอ ก็จะเห็น Slot Memory ถึง 8 Slot ด้วยกัน ก็วิธีการใส่ก็ไม่ยาก เปิดคู่มือดูก็ของเดิมเสียบช่อง 1 และ 4 ของใหม่ก็เสียบ 7 และ 10 ก็ช่องข้างกันเลย ดังภาพ



RAID Controller Upgrade
ถือว่าดีทีเดียวได้มีโอกาส Upgrade RAID พอดี ตัวนี้เคยทำแล้วกับ x3650 แต่ไม่ได้นำมา Review สำหรับ RAID ตัวนี้นั้นจะมาเป็น Slot คล้าย Memory ตอนเห็นก็งง แล้วก็มาพร้อมกับ Battary สำหรับ RAID ด้วย เจ๋งไหมล่ะ แต่ครั้นนี้ เราต้องงมกันนานเหมือนกันว่าจะห้อย Battary ไว้ตรงไหนดี เพราะตอนรุ่น x3650 Slot นี้จะอยู่ใกล้ๆกับ Power Supply ซึ่งฝา Power Supply มีช่องเกี่ยวพอดี เปิดคู่มือไปก็หาไม่เจอ เพราะคู่มือเป็นแบบกลางๆ ไม่ได้บอกที่ห้อย Battary เปิดคู่มือ Server ก็ไม่เจอ เพราะไม่ได้บอกอะไรมากเรื่องการ Install ตัวนี้ สุดท้ายเราก็เจอผู้ต้องสงสัย คือ น๊อต 2 อันติดกันที่ถ้าดูตำแหน่งก็คือ อยู่ก้นเครื่อง พอเราเอามาวัด ก็พอดิบพอดีเลยกับรูของ Battary ก็เลยใส่ดูเป็นอันว่าใช่จนได้
ก็ถือว่าเป็นตัวที่ต้องเอาไปแทนที่อันเดิมที่เป็น RAID 0/1 Hardware Controller นะครับ แล้วก็ถือว่าใส่ยากเหมือนกัน ไม่คิดว่า IBM จะทำมายากอย่างนี้ แต่ก็ไม่ยากซะทีเดียว แต่ถ้ามีการบอกสักนิดว่าใส่ตรงไหนก็น่าจะดี เพราะน่าจะมีหลายคนไม่เห็นก็น่าจะเป็นไปได้



สรุป
บทสรุปสำหรับ x3400 ถือว่าเป็น Server ที่หน้าเล่นใน Server ระดับ SME ตั้งแต่กลาง - ใหญ่ เป็น CPU ตระกูลตั้งแต่ XEON Series 5000 มีทั้ง Dual Core และ Quad Core เลยทีเดียว ใส่ได้ 2 CPU ก็รองรับการขยาย เป็นตัวที่หน้าเล่นครับ ไม่แพงมาก และรองรับการขยายขององค์กรได้ด้วย ถือว่าได้ Server ระดับดีทีเดียว ขาดแต่ Reduntdant Power Supply เท่านั้นเอง แล้วก็ใส่ Harddisk ได้มากมายทีเดียว ก็น่าเล่นครับ การรับประกันตัวนี้ก็สูงถึง 3 ปี ก็ปลอดภัยหายห่วง ระดับราคาอยู่ที่ช่วง 7 หมื่น - 1 แสนต้นๆ ก็แล้วแต่ Option และ CPU ที่เลือกนะครับ
Home Product Service Solution Partner / Affiliate Support About Us Community
Privacy Policy Terms of Service Copyright/IP Policy